ข้อมูลจากมูลนิธิทอมสันรอยเตอร์เผยตั้งแต่ปี 2015 มีจำนวนชาวไทยดับในเกาหลีใต้อย่างน้อย 522 รายโดยเป็นแรงงานผีน้อยกว่า 84% (ข้อมูลโดยสอท.ไทยในเกาหลีซึ่งได้รับข้อมูลจาก FOI (Freedom Of Information) จากสถิติพบ 4 ใน 10 รายที่ดับโดยไร้สาเหตุ ในขณะที่รายอื่นๆ มีปัญหาทางสุขภาพ, อุบัติเหตุและการปลิดชีพตนเอง
ตามที่มีการเผยข้อมูลใหม่จากทางสอท.ไทยในเกาหลีใต้ จำนวนของแรงงานไทยที่ดับนั้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ แค่กลางเดือนธันวาคมก็มียอดสูงถึง 122 รายแล้วท่ามกลางการตื่นตระหนกของแรงงานไทยกับสถานการณ์โควิด-19ในเกาหลีใต้
ในปี 2015-2018 ยอดแรงงานไทยดับกว่า 283 รายสูงกว่าแรงงานต่างชาติๆอื่นๆ (สถิติไม่นับรวมปี 2019-2020)
Nilim Baruah ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (U.N) หรือ ILO (International Labour Organization) เผย
“จากข้อมูลที่ได้มานั้นน่าเป็นห่วงและควรต้องมีการเรียกร้องให้สืบหาข้อมูลด้านนี้ แรงงานที่ไม่ได้ลงทะเบียนพำนักอาศัยอย่างถูกต้องมักเป็นชนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้รับการปกป้องและดูแลทั้งด้านสุขภาพและความปลอดภัยซึ่งนั้นค่อนข้างน่าเป็นห่วงนัก”

ปัจจุบันนี้แรงงานในสมัยก่อน, นักกิจกรรม, และข้าราชการการไทยในเกาหลีเผยว่า แรงงานผีน้อยในเกาหลีมักจะต้องทำงานเกินเวลา, ไม่มีสวัสดิการด้านสุขภาพ, และเมื่อไหร่ที่พบกับความไม่ยุติธรรมพวกเขามักจะหลีกเลี่ยงการแจ้งความเพียงเพราะกลัวโดนเนรเทศออกจากประเทศหากถูกจับได้ว่าลักลอบพำนักอย่างมิชอบด้วยกฎหมาย
นักกิจกรรมรายหนึ่งเผย ข้อมูลของแรงงานเหล่านี้ไม่ได้มีการถูกนำมาเผยในสาธารณะทำให้รัฐบาลไม่ได้ให้ความใส่ใจในเรื่องกฎหมายแรงงานและสวัสดิการของพวกเขาท่ามกลางเหตุการณ์โควิดที่กำลังระบาดทำให้พวกเขาตกอยู่ในสภาวะการณ์ที่สุ่มเสี่ยง
ทางด้าน U.N.ฝ่ายองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (IOM: InternationalOrganization for Migration) เผยว่าเหตุการณ์ไม่ควรจะมองข้ามและเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง ทำให้มูลนิธิทอมสันรอยเตอร์ต้องเข้ามาจับตามองสถานการณ์นี้
ทางด้านกระทรวงยุติธรรม, กระทรวงแรงงาน, และกระทรวงการต่างประเทศต่างออกมาปฏิเสธข้อมูลข้างต้น และสอท.เกาหลีใต้ในประเทศไทยเองก็ไม่มีความเห็นใดๆกับข้อมูลดังที่กล่าวมา
แรงงานไทยกว่า 460,000 รายที่ทำงานในต่างประเทศทั้งพำนักแบบถูกกฎหมายและแบบลักลอบเข้าไปทำงานประเทศเกาหลีใต้ถือเป็นประเทศยอดฮิตของชาวไทยที่ได้แวะเวียนมาขายแรงสูงถึง 185,000 คนเพราะค่าแรงที่สูงกว่าในไทยหลายเท่า
และเหตุการเดินทางเข้าได้ง่ายนั้นก็เพราะทั้งสองประเทศมีการทำสนธิสัญญาการเข้าประเทศแบบฟรีวีซ่ามาตั้งแต่ปี1981 มีผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานเผยว่าชาวไทยได้หลบเข้ามาในเกาหลีมากสุดในช่วงงานโอลิมปิกฤดูหนาวที่พย็องชางในปี 2018 และลักลอบทำงานตามโรงงานและฟาร์มตั้งแต่นั้นมา

หน้าที่เราคือทำงานเสี่ยง, งานสกปรก, และงานหนัก
แรงงานที่เดินทางเข้าประเทศเกาหลีใต้อย่างถูกต้องตามกฎหมายนั้นเรียกว่า “แรงงาน EPS” ที่จัดส่งเข้ามาโดยกรมแรงงานไทย แต่หากใครที่เดินทางเข้ามาโดยผ่านการจัดหางานของนายหน้าส่วนบุคคลนั้นเป็นที่รู้จักกันในนาม “ผีน้อย” ซึ่งพวกเขาเหล่านี้จะพำนักอยู่เกินระยะเวลาวีซ่า 90 วันและมักได้รับค่าจ้างอยู่ราวๆ 1.2 ล้านวอน ($1,100) คิดเป็น 3 เท่าของเงินเดือนในประเทศไทย
ทางสถานทูตยอมนั้นจะมีหน้าที่ดูแลชาวไทยในต่างแดนแต่การเข้าถึงข้อมูลของแรงงานผีน้อยนั้นเป็นเรื่องยาก และข้อมูลของแรงงานไทยดับในเกาหลีนั้นก็เป็นการรวบรวมข้อมูลมาจากรายงานจากโรงพยาบาลหรือไม่ก็ตามสถานีตำรวจ ส่วนการหาสาเหตุการจากไปของแต่ละรายนั้นก็ติดตามผ่านทางการชันสูตรแต่ไม่ได้มีการให้ข้อมูลในที่สาธารณะ
มูลนิธิทอมสันรอยเตอร์สัมภาษณ์ นายบัญชา ยืนยงจงเจริญ อัครราชทูตที่ปรึกษาสอท.ไทยในเกาหลีใต้ผ่านโทรศัพท์
“หลายคนจากไปขณะที่ยังหลับ คล้ายๆว่าทำงานหนัก และมีปัญหาสุขภาพส่วนตัวแต่ไม่ได้รับการรักษา ส่วนมากจะทำงานทั้งหนักสกปรกและยากที่จะเข้าถึงการรักษาพยาบาล” นายบัญชากล่าว
อูซัมย็อล ผู้จัดการกลุ่มแรงงานก็ให้สัมภาษณ์ต่อมูลนิธิทอมสันรอยเตอร์เช่นกันว่า
“แรงงานที่ไม่มีวีซ่านั้น ยากที่จะเข้าถึงการรักษาพยาบาล เนื่องจากค่ารักษานั้นสูงลิบกว่า 10 ล้านวอน ($9,140) หลายคนที่ป่วยรวมทั้งชาวไทยต้องอดกลั้นกับอาการป่วยจนต้องสิ้นใจไปหลายราย”
ทางด้านเกาหลีใต้หลังมีเรื่องราวต่างๆเกิดขึ้นกับชาวต่างชาติในเกาหลีกลุ่มปกป้องสิทธิมนุษยชนเกาหลีก็ออกมาแนะนำให้กระทรวงยุติธรรมยุติการจากไปแรงงานต่างชาติ เช่น การเรียกร้องให้รับผิดชอบในอุบัติเหตุจากการปราบปราม และให้หยุดการปราบปรามที่รุนแรงต่อแรงงานผีน้อย
ทางกระทรวงยุติธรรมยอมรับการเรียกร้องบางส่วนและพยายามจะปราบปรามให้อยู่ในขอบเขตและเสริมสร้างความระมัดระวังมากขึ้น
“พวกเราเป็นผีน้อย”

มูลนิธิทอมสันรอยเตอร์ยังได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์อดีตและแรงงานผีน้อยชาวไทยในปัจุบันกว่า 7 คนที่ทำงานในเกาหลี พวกเขาเผยว่าได้รับเงินน้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำและเวลาทำงานจะมากกว่าที่กฏหมายกำหนดตามแต่ละเงื่อนไขหรือสาขางานที่ทำแต่ก็ทั้งเสี่ยงอันตรายและยังสกปรก
นิด (นามสมมุติ) สาวไทยผู้เคยทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาดในโมเต็ลในช็องจูเธอล้มป่วยในเดือนกรกฎาคมเธอทำงาน 15 ชั่วโมงต่อวันและมีวันพักแค่วันเดียวในหนึ่งเดือน แต่เมื่อเธอป่วยทำให้เธอต้องหยุดงานไปเกือบ 4 เดือน
“ในตอนนั้นฉันนึกว่าฉันจะหลับไม่ตื่นอีกเลยเสียอีก” คำบอกกล่าวของนิดที่ตอนนี้ทำงานเป็นหมอนวด เธอเข้ามาทำงานในเกาหลีตั้งแต่ปี 2016 ผ่านการจัดหางานจากนายจ้างที่มีค่าจัดหางานกว่า 100,000 บาท ($3,300) เธอเผยว่าหลังตัวเธอได้ล้มป่วยลงเธอได้ติดต่อสทอ.ไทยในเกาหลีเพื่อขอบินกลับแต่เธอต้องรอต่อคิวบินกลับที่ตอนนี้ยาวยัน10,000 กว่าคิว
“เพราะเราเดินทางเข้ามาแบบผีน้อย เราก็จำต้องอดทนต่อสถานการณ์แบบนี้แหละ” เธอกล่าวผ่านโทรศัพท์
อย่างไรก็ตามก็มีองค์กรบางองค์กรที่ให้ความสะดวกต่อแรงงานผีน้อยโดยมีการเตรียมประกันสุขภาพให้แรงงานผีน้อย เช่น ศูนย์สวัสดิการต่างชาตินัมยางจู แต่สถานการณ์โควิดกลับทำให้การดำเนินการติดขัด
อีย็อง บาทหลวงที่ทำงานในองค์กรช่วยเหลือต่างชาติเผย
“ยกตัวอย่างชาวต่างชาติผีน้อยหลายคนที่ต้องการที่ต้องการยารักษาโรคเบาหวาน แต่ด้วยสถานการณ์โควิดทำให้บริการฟรีของเราต้องชะงัก และนั่นยิ่งทำให้พวกเขาเหล่านั้นอาการแย่ลง”
ในเดือนเมษายนทางหน่วยงานกักกันโรคได้ออกนโยบายสกัดกั้น “จุดบอดในการกักกันโรค” โดยมีการอนุญาติให้แรงงานผีน้อยมีสิทธิ์เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิดได้ฟรีโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการส่งตัวกลับประเทศ กระทรวงยุติธรรมของเกาหลีเผยต่อมูลนิธิทอมสันรอยเตอร์ด้วยว่า มีการเปิดโอกาสให้แรงงานผีน้อยรายงานตัวกลับโดยสมัครใจโดยไม่มีการจ่ายค่าปรับใดๆ ในช่วงเกิดการระบาดของโควิด และช่วงเวลาดังหล่าวทางสอท.ไทยในเกาหลีใต้ก็ได้ช่วยให้แรงงานผีน้อยไทยเดินทางออกจากเกาหลีกว่า 10,000 คนในปีนี้
ทำงานไร้ซึ่งกฎหมายรองรับสิทธิ์
แรงงานไทยที่เดินทางเข้ามาในเกาหลีใต้ผ่านกรมการจัดหางานที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นจะมีสิทธิ์คุ้มครองทั้งตัวแรงงาน EPS และครอบครัวของแรงงาน
“แต่ปัญหาส่วนใหญ่คือ แรงงานผีน้อย หากเกิดอะไรขึ้นมักจะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากกฎหมายใดๆ”

แม้มีความพยายามในการยับยั้งการลักลอบเดินทางเข้ามาทำงานอย่างมิชอบด้วยกฎหมายและมีการปราบปรามแหล่งเอเจ้นท์นำเข้าแรงงานผิดกฎหมายแล้วก็ตามแต่กลับไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้หมด ควรที่จะมีการปรับปรุงกฏระเบียบที่จะช่วยให้แรงงานเดินทางไปทำงานง่ายขึ้นกว่านี้มากกว่า โรยทราย วงศ์สุบรรณ ตัวแทนองค์กรเดอะฟรีดอมฟัน (The Freedom Fund) ซึ่งทำงานด้านการต่อต้านการใช้แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ออกมากล่าวว่าสังคมไทยยังมีมุมมองและอคติไม่ดีต่อแรงงานต่างชาติที่ผิดกฎหมายหมายเหล่านี้
อดีตแรงงานข้ามชาติรายหนึ่งซึ่งขอไม่เปิดเผยตัวตนกล่าวว่า เมื่อปี 2014 เขาต้องจ่ายเงิน 120,000 บาท ($4,000) ให้กับนายหน้าชาวไทยเพื่แลกกับการมาทำงานในเกาหลีใต้ แต่ต้องมาลงเอยด้วยการทำงานในฟาร์มเลี้ยงหมูในเมืองแทกูซึ่งเขาต้องทำงานแบบไม่มีแม้วันหยุด
อีกทั้งเขาเองก็ไม่ได้รับเงินเดือนหลังจากผ่านไปสามเดือน ชายวัย 51 ปีคนนี้จึงตัดสินใจหนีออกจากที่ทำงาน ก่อนออกเดินทางออกมาจากที่ทำงานนั้นเขาบอกว่าเขาได้เขียนข้อความเป็นภาษาไทยบนผนังห้องนอนเพื่อเตือนคนอื่น ๆที่จะเข้ามาทำงานตรงนี้ว่า
“ถึงเพื่อนคนไทย: ถ้าคุณถูกส่งมาทำงานที่นี่ ระวังจะไม่ได้รับเงินค่าจ้าง”
ขอบคุณที่มา: แหล่งข่าว