เดิมทีตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ชาวต่างชาติจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในเกาหลีได้โดยระยะการพำนักจะต้องไม่เกินอายุหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการพิจารณาถึงสถานการณ์ของชาวต่างชาติที่ไม่มีอิสระที่จะเดินทางไปต่างประเทศเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 แล้ว และการออกหนังสือเดินทางใหม่ในเกาหลีก็ดูจะไม่ใช่เรื่องง่าย หน่วยงานรัฐเห็นควรให้ลดความไม่สะดวกด้วยการตั้งกฎเกณฑ์ในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวางระบบจริง
1. กฎจะนำมาใช้ได้กับใคร?
ชาวต่างชาติทุกคนที่มีสิทธิ์พำนักเป็นระยะเวลานาน ยกเว้นชาวต่างชาติสถานะวีซ่าตามด้านล่างนี้
▲ นักการทูต (A-1) ▲ การบริการสาธารณะ (A-2) ▲ ผู้พำนักโดยมีข้อตกลง (A-3) ▲ ผู้พำนักถาวร (F-5) ▲ ผู้มีสถานะพำนักระยะยาว (F-2) ▲ ผู้แวะมาเยี่ยมครอบครัว (F-1) ▲ ผู้ได้รับอนุญาตให้พำนักด้วยเหตุทางมนุษยธรรม/ ผู้ลี้ภัย และครอบครัวของผู้ได้รับวีซ่านี้ (G-1) ▲ และบุคคลไร้สัญชาติ
ระบบที่ดำเนินการใหม่นี้จะนำไปใช้กับการออกวีซ่า, การต่ออายุวีซ่า, การเปลี่ยนวีซ่า, การเปลี่ยนสถานที่ทำงาน, และการยื่นคำร้องทางแพ่งเพิ่มเติม
2. หลักเกณฑ์การอนุญาตให้เข้าพักเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
– (หลักการ) กำหนดระยะเวลาพำนักให้อยู่ในเกาหลีได้ตามขอบเขตอายุหนังสือเดินทาง
– (บัดนี้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565) หากอายุหนังสือเดินทางเหลือน้อยกว่าหนึ่งปีจะถือว่าสามารถขยายเวลาพำนักออกไปได้เพียง 1 ปีเท่านั้น
– (หลังวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565) ไม่ว่าจะกรณีใดๆ ก็ตามที่ทำให้ไม่สามารถออกหนังสือเดินทางได้ทันการต่อขยายเวลาพำนักจะถือว่าหนังสือเดินทางนั้นมีอายุเพียง 6 เดือน และระยะพำนักจะขยายให้เพียง 6 เดือนเท่านั้น
3. วันที่เริ่มบังคับใช้
– 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป
ขอบคุณที่มาจาก : แหล่งข่าว