กลุ่มสิทธิมนุษยชนผู้อพยพได้วิจารณ์แผนการของกระทรวงยุติธรรมในการจัดการกับผีน้อยและเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดปราบปรามผีน้อยแล้วส่งกลับประเทศเสีย
เมื่อวันที่ 9 มกราคมกลุ่มสิทธิมนุษยชนผู้อพยพได้จัดงานแถลงข่าวต่อหน้าทำเนียบประธานาธิบด(청와대 : Blue House)
Bong Hye-young รองประธาน민주노총กล่าว
“กระทรวงยุติธรรมกล่าวว่า สนับสนุนให้มีการเดินทางออกนอกประเทศโดยสมัครใจและลดความต้องการสำหรับการกลับเข้าประเทศอีกครั้ง แต่นั่นหมายความว่าจะปราบปรามทั้งนายจ้างและผู้อยู่อาศัยที่ไม่ได้ลงทะเบียน”
นายถั่นซอเถ แรงงานอพยพชาวพม่าในปี 2561 และอนุศักดิ์ แรงงานไทยในปี 2562
ทั้งคู่ล้วนตกเป็นเหยื่อของการปราบปรามจากกระทรวงยุติธรรม
“การปราบปรามเช่นนี้ได้กลายเป็นปัญหาทางสังคมครั้งใหญ่ และกระทรวงยุติธรรมยังจะทำเช่นนั้นต่อไปหรือ”
ทนายความ Park Young-ah กล่าว
“เหตุผลที่กระทรวงยุติธรรมสนับสนุนให้แรงงานข้ามชาติออกจากประเทศเกาหลีโดยสมัครใจด้วยการยื่นข้อเสนอว่าจะให้วีซ่า C-3 ซึ่งไม่สามารถหางานได้นาน นั้นหมายความว่าพวกเขาควรกลับไปเกาหลีและทำงานที่ผิดกฎหมาย”
* วีซ่า C-3 เป็นวีซ่าที่ไม่ใช่การจ้างงาน
Song Eun-jung จากศูนย์ 이주노동희망센터 กล่าว
“การยื่นข้อเสนอ การออกวีซ่า C-3 ให้แรงงานต่างชาตินั้นมันหมายความว่ายังไง?”
“มันก็แค่นโยบายลดจำนวนผีน้อยเพื่อตนจะได้ผลประโยชน์เท่านั้น”
“แล้วผีน้อยที่เดินทางกลับประเทศโดยสมัครใจนั้นเขาสมัครใจจริงหรือ หรือว่าออกไปเพราะต้องการหลีกเลี่ยงการปราบปรามที่รุนแรงนี้กันแน่?”
“ไม่เคยมีดีเลยจริงๆ กับนโยบายที่มาจากรัฐบาล”
ไม่ได้มีความชัดเจนใดๆเลยว่าพวกเขาจะให้วีซ่า C-3 แก่ผีน้อยที่สมัครใจออกจากประเทศเกาหลี ซึ่งนั่นอาจหมายความว่า อาจจะได้เข้าหรือไม่ได้เข้า แม้จะเพื่อเที่ยวเกาหลี (ในฐานะนักท่องเที่ยว) หรือแม้แต่ให้โอกาสพวกเขาได้กลับเข้ามาทำงาน
กลุ่มสิทธิมนุษยชนแรงงานต่างชาติแย้งว่า:
“สิทธิมนุษยชนมาก่อนการจัดการสิ มาเตรียมมาตรการเพื่อทำให้ผู้อยู่อาศัยที่ไม่ได้ลงทะเบียนนั้นถูกต้องตามกฎหมายดีกว่าไหม!!!”
เมื่อเร็ว ๆ นี้ข้อความต่อไปนี้ถูกโพสต์บนเว็บไซต์ของกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองแห่งประเทศเกาหลี (법무부출입국외국인정책본부)
“ผู้ย้ายถิ่นฐานไทยที่ผิดกฎหมายที่ทำงานในเกาหลีซึ่งออกจากประเทศโดยสมัครใจให้โอกาสในการฝึกอบรมสายอาชีพในประเทศไทย”
คนไทยคนหนึ่งพูดว่า:
“ฉันไม่ได้มาเกาหลีเพราะฉันไม่มีงานทำ ฉันมาเกาหลีเพราะฉันไม่สามารถอยู่ในประเทศไทยได้ หากไม่มีมาตรการในทางปฏิบัติ เช่น การเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ ถึงจะกลับไทยไปก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ดี”
สังคมเกาหลีใช้เวลา 30 ปีกับแรงงานข้ามชาติ
รัฐบาลเกาหลีควรเคารพสิทธิของแรงงานข้ามชาติมากกว่านี้ ไม่ใช่แค่ดูแลแต่แรงงานตัวเอง!
ขอบคุณที่มาจาก: แหล่งข่าว