สัญญาณดี สหภาพแรงงานเกาหลี
เตรียมอุ้มแรงงานผี & EPS ปรับระบบ
จากที่ NHRCK ได้มีการยื่นรายงานแบบอิสระต่อคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ U.N. (CERD) ไปเมื่อวานนี้ สัญญาณดีได้เผยออกมาบ้างแล้ว
จากสถิติของ NHRCK เผยยอดชาวต่างชาติที่ถูกกฎหมายที่ได้ผันตัวไปเป็นผู้อาศัยแบบผิดกฎหมายตามตาราง ทำให้ทางรัฐบาลเกาหลีเล็งที่จะรีบแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้
“เหตุเพราะการเลือกปฏิบัติ&การเหยียดเชื้อชาติ”
จากการรายงานคือ สหภาพแรงงานข้ามชาติ นั้นเอื้อประโยชน์ต่อผู้ที่ขึ้นทะเบียนแต่ไม่เอื้อต่อผู้ที่ไม่ขึ้นทะเบียน ทำให้แรงงานต่างชาติผีทั้งหลายไม่สามารถร่วมรับบริการจากโครงการสหภาพแรงงานในเกาหลีได้อย่างเต็มที่
NHRCK เน้นสิทธิในการจัดระเบียบและเข้าร่วมสหภาพแรงงานข้ามชาติ NHRCK กล่าวว่า “รัฐบาลไม่ได้ออกหนังสือรับรองการเอื้อประโยชน์ต่อแรงงานผีต่อสหภาพแรงงานข้ามชาติ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2005 นั่นเพราะรัฐบาลเป็นศูนย์กลางของแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีการลงทะเบียนอย่างถูกหมายด้วยตนเอง”
อย่างไรก็ตาม รายงานของรัฐบาลระบุว่าแรงงานต่างชาติที่มีสถานะทางกฎหมายมีถิ่นที่อยู่มีอิสระที่จะจัดตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติให้ความเห็นว่า “นี่เป็นการกีดกันแรงงานอพยพที่ไม่ได้จดทะเบียน”
NHRCK สั่งให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติการควบคุมการเข้าออก ข้อ 17 ซึ่งโดยทั่วไปจะห้ามไม่ให้มีกิจกรรมทางการเมืองโดยผู้ลี้ภัย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกล่าวว่า “มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมในด้านกฎหมาย เพื่อรับประกันสิทธิแรงงาน เช่น การจัดตั้งและการเข้าร่วมสหภาพแรงงานข้ามชาติ, และการรับประกันการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและการแก้ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ
กล่าวให้เข้าใจโดยง่ายคือ แรงงานข้ามชาติที่เป็นผีนั้นจะมีสิทธิในการเรียกร้องมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องในเรื่อง การค้างค่าจ้าง การเบี้ยวค่าจ้าง การล่วงละเมิดทางเพศ การถูกเอารัดเอาเปรียบ การถูกกดขี่ข่มเหง เป็นต้น หากการร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นที่ตกลง แรงงานผีเองก็มีสิทธิร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพแรงงานข้ามชาติในเกาหลีได้
NHRCK เห็วว่าการถูกเอารัดเอาเปรียบในหลายด้านจากนายจ้างที่ทำต่อชาวต่างชาตินั้นเปรียบเสมือนการเลือกปฏิบัติ ซึ่งเรียกได้ว่าขัดต่อมาตราฐานของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ U.N. (CERD)
นอกจากนี้ ปัญหาการเปลี่ยนสถานะจากแรงงานถูกกฎหมายเป็นแรงงานผีนั้นพบว่ามาจากปัญหาของระบบการจ้างงาน EPS ที่จำกัดการเลือกที่ทำงานของแรงงานข้ามชาติ นั่นส่งผลให้มีการเอารัดเอาเปรียบ และไม่แฟร์ ซึ่งก็หมายถึง การเลือกปฏิบัติได้อีกเช่นกัน
จากตาราง ระบบอนุญาตการจ้างงาน ณ สิ้นปีที่แล้วมี 82,387 คนที่มีสถานะที่ไม่ได้ลงทะเบียน ในปีที่ผ่านมามีชาวต่างชาติที่ลงทะเบียน 26,178 ราย ที่ไม่ได้ลงทะเบียน
ทางรัฐเล็งปรับเปลี่ยนระบบ EPS ใหม่ โดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า “ในระยะยาวเราควรให้เสรีภาพในการเลือกแรงงานข้ามชาติและอนุญาตให้พวกเขาเปลี่ยนสถานที่ทำงานโดยไม่มีข้อ จำกัด เมื่อพบว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการเลือกปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมในการทำงาน”
Cr = LABOR TODAY